โรคหน้ากระตุก (Hemifacial spasm)
โรคกล้ามเนื้อรอบเบ้าตากระตุก/ตาขยิบ (Orbicularis spasm)
โรคกล้ามเนื้อเปลือกตาเต้น/เขม่น (Myokymia)
ปัญหากล้ามเนื้อของเปลือกตาเต้นระริกเป็นพักๆ สามารถพบได้ในคนทั่วไป ส่วนใหญ่มักสัมพันธ์กับความเครียด และจะเป็นช่วงสั้นๆ แล้วอาการจะทุเลาหายไปได้เอง แต่ก็มีบางรายที่อาการยังคงเป็นต่อเนื่อง คือเป็นๆหายๆอยู่นับเดือน และมักจะไม่สัมพันธ์กับความเครียด
ส่วนอาการกล้ามเนื้อรอบเบ้าตากระตุกเป็นช่วงๆหรือที่เรียกว่าเปลือกตากระตุก ถ้าอาการดังกล่าวเป็นลักษณะกึ่งตั้งใจ ( Tics ) พวกนี้มีสาเหตุจากความไม่เชื่อมั่นในตัวเอง และทำจนเป็นนิสัย ส่วนในกลุ่มที่มีอาการขึ้นเองโดยไม่ได้ตั้งใจ เกิดจากการทำงานที่ผิดเพี้ยนของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 ( Facial nerve ) ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุที่แน่ชัดเช่นมีก้อนเนื้องอกหรือเส้นเลือดไปกดเส้นประสาท หรือไม่มีสาเหตุที่ชัดเจนก็ได้
กล้ามเนื้อใบหน้ากระตุกครึ่งซีก ( Hemifacial Spasm ) เป็นภาวะที่รุนแรงกว่าของโรคกล้ามเนื้อรอบเบ้าตากระตุก แรกๆอาการก็มีเพียงเปลือกตากระตุก เมื่ออาการเรื้อรังและเป็นหนักขึ้น ก็จะลามมาดึงรั้งมุมปากด้านเดียวกันให้กระตุกไปพร้อมๆกัน ก่อความรำคาญให้แก่ผู้ป่วย ทำให้เสียบุคคลิกภาพ และสูญเสียความมั่นในใจในตนเอง
การรักษา
1. การฉีด Botulinum toxin ( Botox ) ซึ่งเป็นสารพิษที่เจือจางเข้าไปในบริเวณกล้ามเนื้อที่กระตุก เพื่อทำให้กล้ามเนื้อดังกล่าวเป็นอัมพาตชั่วคราว เป็นวิธีที่ง่าย สะดวก แต่อาจมีผลข้างเคียงจากการฉีดสารดังกล่าว และเกิดดื้อต่อการรักษาได้ในระยะยาว
2. การผ่าตัดเปิดกระโหลกศีรษะบริเวณหลังใบหู เข้าไปแยกเส้นเลือดออกจากเส้นประสาทโดยใช้ แผ่น Teflon หรือ Titanium คั่นกลางเอาไว้ ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดที่อาจจะเกิดได้เช่น เกิดอัมพาตของใบหน้าซีกดังกล่าว ( Bells palsy )จากการกระทบกระเทือนเส้นประสาทเส้นที่ 7 หรือสูญเสียการได้ยินของหูข้างนั้น จากการกระทบกระเทือนประสาทหูที่อยู่ใกล้กัน เป็นต้น
3. การนวดตา เป็นเทคนิคที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่องจากการรักษาโรคตาหลายๆโรคที่ยังรักษาไม่ได้จนประสบความสำเร็จ ต่อมามีผุ้ป่วยที่มีอาการเปลือกตาเขม่นเรื้อรัง ซึ่งยังไม่มีการรักษาที่ชัดเจน เมื่อได้รับการแนะนำให้นวดตา ประกฎว่า อาการดังกล่าวหายไปได้ และเมื่อมีผุ้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้อรอบเบ้าตากระตุก ก็ได้ลองแนะนำให้ผู้ป่วยนวดตา ก็ปรากฎว่าสามารถรักษาให้หายได้เช่นกัน ล่าสุด มีผุ้ป่วยที่อาการรุนแรงจนมีการกระตุกของมุมปากร่วมด้วย( Hemifacial spasm ) มาปรึกษา 2 ราย รายหนึ่ง คือคุณรุจิรา คำต่อม อายู 37 ปี ได้รับการรักษาด้วยการฉีด Botox มาร่วม 4 ปี และเริ่มดื้อยา ใบหน้าเริ่มผิดรูป อีกรายหนึ่ง คือคุณสมใจ รัตนารมย์ อายุ 51 ปี ยังไม่เคยรักษามาก่อน หลังจากได้รับคำแนะนำให้นวดตา จากการติดตามผล 1 เดือนต่อมา ประกฎว่า อาการดีขึ้นทั้ง 2 ราย การกระตุกของใบหน้าลดลง ทั้งความรุนแรง ( เดิมเวลาใบหน้ากระตุก จะได้ยินเสียงดังตึ๊กๆในหูข้างเดียวกันด้วย ขณะนี้ ไม่มีเสียงดังกล่าวแล้ว ) และความถี่ของการกระตุกก็ห่างออกไปเรื่อยๆจนใกล้จะหายขาดแล้ว
สรุป หากการนวดตา สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยโรคใบหน้ากระตุกให้หายขาดได้อย่างถาวร ก็จะทำให้การค้นคว้าวิจัยโรคนี้ มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งในเรื่องกลไกการเกิดโรคและวิธีรักษา
ตัวอย่างผู้ป่วย
ผศ. พัชรพร สุคนธสรรพ์ สำนักวิชา พยาบาลศาสตร์ ม.แม่ฟ้าหลวง จังหวัด เชียงราย โทร. 081-5330137
นพ.สมเกียรติ อธิคมกุลชัย
5 ธันวาคม 2552
ติดต่อ
นพ. สมเกียรติ อธิคมกุลชัย
e-mail
[email protected] or [email protected]
ติดต่อเข้ารับการรักษา ศูนย์ฟื้นฟูประสาทตาและการมองเห็น โรงพยาบาลเอกชัย.
วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 น. - 17.00 น.
โทร. 03-441-7999 หรือสายด่วน โทร. 1715
กลับสู่หน้าหลักงานวิจัยของน.พ.
สมเกียรติ